ตามสถิติที่สำรวจมา หากให้ถาม “คนไทย” หนึ่งร้อยคนว่าเคยถูกบรรดามิจฉาชีพพยายามหลอกลวงทางการเงินหรือไม่ เชื่อได้ว่ามีคนไทยมากกว่า 96 คน ตอบว่าเคยอย่างน้อย 1 ครั้ง และมากกว่า 60 คน ตอบเพิ่มเติมว่าโดนประจำ บางคนตอบด้วยว่าโดนส่งข้อความ ทักไลน์ หรือโทร.หาแทบทุกวัน
ทำให้ในแต่ละวัน เราได้รับข่าวเศร้าที่ว่าคนเฒ่าคนแก่ร้องไห้เสียใจ เพราะถูกหลอกโอนเงินให้กับแก๊งโจรเหล่านี้ สูญเสียเงินที่สะสมมาทั้งชีวิต แม้แต่คนวัยทำงาน เด็กและเยาวชนก็มีข่าวถูกหลอกลวงไม่เว้นแต่ละวัน และส่วนใหญ่เงินที่สูญเสียไปจะไม่สามารถเรียกร้องคืนจากธนาคารเจ้าของบัญชีได้ ทำให้บางคนถึงขนาดคิดสั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
ทั้งนี้ จากสถิติของศูนย์บริหารการแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยอดสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65-31 พ.ค.67 มีผู้เสียหายทั้งสิ้น 540,000 ราย มูลค่ารวม 63,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นยอดเงินที่สูงมากในเวลาประมาณ 2 ปี และจากข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ หรือศูนย์ AOC โทร.1441 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.66-16 มิ.ย.67 มีผู้เสียหายโทร.เข้ามาแจ้ง 1441 ทั้งสิ้น 50,072 สาย หรือเฉลี่ยสูงถึงวันละ 3,261 สาย
และเมื่อแยกรายละเอียดลงไป การถูกหลอกลวงผ่านระบบออนไลน์ที่สูงที่สุด คือ ถูกหลอกซื้อสินค้าออนไลน์ เช่น ซื้อแล้วไม่ได้สินค้า ไม่ตรงปก เป็นต้น อยู่ที่ 42% ของการถูกหลอกลวงออนไลน์ทั้งหมด ส่วนที่เหลือ 52% เป็นการถูกหลอกให้โอนเงินในรูปแบบต่างๆ เช่น คอลเซ็นเตอร์ โทร.มาหลอกลวง สร้างสถานการณ์ต่างๆนานา เช่น ขู่ให้กลัว หรือให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่สูงมาก หลอกลวงให้กดลิงก์จากโซเชียลมีเดีย และการหลอกลวงผ่านเพื่อนในเฟซบุ๊ก
โดยประมาณการว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงให้โอนเงินทั้งสิ้นประมาณ 300,000 ราย และจากการติดตามเส้นทางเงินแต่ละราย พบว่าเงินถูกโอนเป็นทอดๆ ผ่านบัญชีม้าไปอย่างรวดเร็วมาก ในเวลาไม่กี่นาทีถูกโอนไปยังบัญชีม้าไม่ต่ำกว่า 5 บัญชี และบางรายถูกโอนไปเป็นทอดๆมากกว่า 10 บัญชี
“บัญชีม้า” หรือบัญชีเงินฝากธนาคารที่คนร้ายนำมาใช้เป็นช่องทางรับและถ่ายโอนเงินที่ได้มาจากการหลอกลวง เพื่อป้องกันไม่ให้มีพยานหลักฐานโยงมาถึงตัว จึงกลายเป็น “กุญแจสำคัญ” ในการกระทำความผิด
และหนึ่งในวิธีที่คนร้ายจะมีบัญชีม้า คือ การจ้างเปิดบัญชี หรือรับซื้อบัญชีเงินฝากธนาคารของบุคคลทั่วไป และบัญชีม้าบางรายอาจจะได้เงินรายเดือน เพื่อคงการเป็นบัญชีม้าไว้อย่างต่อเนื่องด้วย ทำให้แม้ว่าจะมีการกำหนดโทษของบัญชีม้าไว้ค่อนข้างหนัก โดยหากพบว่าเป็นบัญชีม้า ซิมม้า บัตรอิเล็กทรอนิกส์ และ e-Wallet : เปิด-ขาย-ให้เช่า-ให้ยืม มีโทษจำคุก 3 ปี หรือปรับ 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ยังมีผลค่อนข้างน้อย
โดยหากประเมินจากจำนวนผู้เสียหาย 300,000 คน ที่โอนเงินไปให้มิจฉาชีพ และเฉลี่ยเงินจะโอนไปอย่างน้อย 5-10 ทอด เท่ากับมีบัญชีม้า 1.5 ล้านบัญชี หรือมากกว่านั้น แต่ในขณะนี้มีบัญชีม้าถูกอายัดไว้ ทั้งแบบอายัดถาวร และอายัดชั่วคราวรวมกันประมาณ 300,000 บัญชีเท่านั้น ทำให้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาแถลงข่าวการยกระดับการจัดการภัยทางการเงินออนไลน์ที่เข้มข้นมากขึ้น
เพื่อให้เข้าใจกระบวนการในการป้องกันภัยจากการถูกหลอกลวงผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น และอาจเพิ่มโอกาสให้คนไทย “ฉุกคิด” ได้เมื่อเจอภัยร้ายกับตัวเอง “ทีมเศรษฐกิจ” ได้พูดคุยกับ “ดารณี แซ่จู” ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน และ “อโรรา อุนนะนันทน์” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธปท. เพื่อทำความเข้าใจถึงมาตรการใหม่ที่เข้มงวดขึ้น และแชร์ประสบการณ์การหลอกลวงของมิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆ
พุ่งเป้าตรวจเข้มลดจำนวนบัญชีม้า
“ในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าทุกฝ่ายจะพยายามลดจำนวนบัญชีม้าลง เพื่อตัดหนทางในการรับเงินของมิจฉาชีพ แต่การจัดการกับบัญชีม้ายังมีข้อจำกัด ทำให้ยังมีผู้เสียหายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงร่วมกันยกระดับการจัดการบัญชีม้าให้เข้มงวดขึ้นในครั้งนี้ เพื่อให้ธนาคารทุกแห่งป้องกันความเสี่ยงและแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ ที่เกิดกับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”
โดยหากประเมินจากจำนวนผู้เสียหาย 300,000 คน ที่โอนเงินไปให้มิจฉาชีพ และเฉลี่ยเงินจะโอนไปอย่างน้อย 5-10 ทอด เท่ากับมีบัญชีม้า 1.5 ล้านบัญชี หรือมากกว่านั้น แต่ในขณะนี้มีบัญชีม้าถูกอายัดไว้ ทั้งแบบอายัดถาวร และอายัดชั่วคราวรวมกันประมาณ 300,000 บัญชีเท่านั้น ทำให้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาแถลงข่าวการยกระดับการจัดการภัยทางการเงินออนไลน์ที่เข้มข้นมากขึ้น
เพื่อให้เข้าใจกระบวนการในการป้องกันภัยจากการถูกหลอกลวงผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น และอาจเพิ่มโอกาสให้คนไทย “ฉุกคิด” ได้เมื่อเจอภัยร้ายกับตัวเอง “ทีมเศรษฐกิจ” ได้พูดคุยกับ “ดารณี แซ่จู” ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน และ “อโรรา อุนนะนันทน์” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธปท. เพื่อทำความเข้าใจถึงมาตรการใหม่ที่เข้มงวดขึ้น และแชร์ประสบการณ์การหลอกลวงของมิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆ
พุ่งเป้าตรวจเข้มลดจำนวนบัญชีม้า
“ในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าทุกฝ่ายจะพยายามลดจำนวนบัญชีม้าลง เพื่อตัดหนทางในการรับเงินของมิจฉาชีพ แต่การจัดการกับบัญชีม้ายังมีข้อจำกัด ทำให้ยังมีผู้เสียหายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงร่วมกันยกระดับการจัดการบัญชีม้าให้เข้มงวดขึ้นในครั้งนี้ เพื่อให้ธนาคารทุกแห่งป้องกันความเสี่ยงและแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ ที่เกิดกับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”
ทั้งนี้ จุดอ่อนที่สำคัญของกระบวนการลดจำนวนบัญชีม้า และการอายัดเงินของกลางที่ผู้เสียหายโอนไปนั้น เรื่องแรกคือการอายัดบัญชีที่จำกัดเวลาไว้เพียง 7 วัน ก่อให้เกิด “ม้าหมุน” หรือการกลับมาเป็น “บัญชีม้า” ไม่จบไม่สิ้น และอีกเรื่องคือการติดตามเส้นทางเงินที่ล่าช้า จึงเป็นที่มาของมาตรการใหม่ที่เข้มข้นขึ้น โดยยกระดับการอายัดบัญชีของผู้ที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบัญชีม้า (ม้าดำ) และกรณีบัญชีต้องสงสัยที่ได้รับแจ้งจากผู้เสียหาย (ม้าเทา) จากเดิมจะอายัดบัญชีอิเล็กทรอนิกส์เป็นรายบัญชีตามบัญชีที่แจ้งมาและระยะเวลาที่กำหนด
“เป็นการอายัดบัญชีทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีชื่อ “บุคคลดังกล่าว” นั้นๆ ทุกบัญชีในทุกธนาคาร และเป็นการอายัดต่อเนื่องไปไม่มีกำหนด จนกว่าเจ้าของบัญชีจะเข้ามาพิสูจน์ข้อเท็จจริงกับธนาคาร โดยกรณีที่เป็น “ม้าดำ” จะไม่อนุญาตให้เปิดบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ในทุกธนาคาร”
ส่วนกรณี “ม้าเทา” นั้น หากเจ้าของจะ “ปลดอายัดบัญชีเดิม หรือเปิดบัญชีใหม่” จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เข้มข้น เช่น พฤติกรรมการโอนเงิน ที่มาที่ไปของเงิน เป็นต้น โดยจะไม่มีการพิสูจน์ตัวตนหรือให้ข้อเท็จจริงผ่านออนไลน์ แต่จะต้องเป็นการเผชิญหน้าจริงเพื่อขอปลดอายัดบัญชี หรือเปิดบัญชีใหม่ที่สาขาธนาคารเท่านั้น ซึ่งส่วนนี้จะช่วยตัดบัญชีม้าตัวนี้ออกจากระบบ ลดโอกาสการเกิด “ม้าหมุน” และ “บัญชีม้าใหม่แต่หน้าเดิม” ลงได้
นอกจากนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการติดตามเส้นทางเงิน ธปท.ได้อนุญาตให้ธนาคารเจ้าของบัญชีของผู้เสียหายที่ถูกหลอกโอนเงิน เรียกดูเส้นทางเงินที่โอนไปจากบัญชีนั้นไปยังบัญชีอื่นของธนาคารอื่นได้ด้วย จากเดิมจะเห็นแค่บัญชีของตนเอง เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการส่งข้อมูลอายัดบัญชีผ่านระบบ CFR ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้จะเริ่มได้วันที่ 31 ก.ค. เพราะต้องปรับระบบให้เชื่อมโยงกันก่อน
แต่อย่างไรก็ดี การอายัดบัญชีของธนาคารที่ไม่ใช่ต้นทาง ยังต้องอาศัยการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งที่ผ่านมาได้ปรับระบบจากการแจ้งความที่โรงพัก มาเป็นการแจ้งความทางออนไลน์ ผ่านศูนย์ AOC โทร.1441 และเมื่อได้หมายเลขใบแจ้งความแล้ว ก็สามารถนำไปอายัดบัญชีกับธนาคารได้แทนเอกสารที่เป็นกระดาษ
มาต่อกันที่กรณี “ม้าน้ำตาล” ที่ผ่านมา เป็นบัญชีที่ธนาคารพาณิชย์พบเห็นพฤติกรรมต้องสงสัย และอาจจะสอบถามหรือให้ยืนยันตัวตน จุดนี้ ธปท.ขอให้ธนาคารพาณิชย์แชร์ข้อมูลพฤติกรรมการเงินของ “บัญชีม้า” ที่แต่ละแห่งที่พบในระบบ CFR เพื่อให้ทุกธนาคารมีข้อมูลที่หลากหลายมากขึ้นในการตรวจจับ และขอให้มีมาตรฐานเดียวกันในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่เข้มงวดขึ้น เช่น การยืนยันพิสูจน์ตัวตนที่สาขา เป็นต้น ซึ่งกรณีเหล่านี้
ธปท.เข้าใจว่า อาจกระทบประชาชนบ้าง เพราะต้องมาแสดงตัวที่สาขาธนาคาร แต่ขอความเข้าใจ และได้ย้ำให้พยายามกระทบผู้ที่สุจริตให้น้อยที่สุด
“ธปท.คาดหวังว่า การเพิ่มความเข้มงวดในการอายัดบัญชีที่ถูกอายัดทุกบัญชี และไม่มีการปลดล็อกจนกว่าเจ้าของจะมาพิสูจน์ข้อเท็จจริง รวมทั้งการตรวจสอบที่เข้มขึ้นกรณี “ม้าน้ำตาล” จะช่วยลดบัญชีม้าลงได้อย่างมีนัยสำคัญ”
อัปเกรด “ป้องกันภัยไซเบอร์” แอปธนาคาร
ในการยกระดับมาตรการต่อสู้ภัยการเงินในครั้งนี้ ธปท.ยังได้สั่งการให้ธนาคารเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการเจาะระบบจากโจรไซเบอร์และการรู้ทันเหล่ากลโกงของภัยการเงินด้วย และยังกำหนดให้สถาบันการเงินต้องมีบริการเพิ่มเติมที่ช่วยดูแลให้ประชาชนใช้บริการดิจิทัลได้ปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยจะเริ่มเห็นบริการเหล่านี้ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มทางเลือก “ล็อกเงินในบัญชี” ให้ลูกค้าสามารถล็อกเงินในบัญชีไม่ให้ทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่ลูกค้ากำหนด เช่น ล็อกไว้ 50% คือ มีเงิน 100,000 บาท ไม่ว่าจะสแกนหน้า หรือวิธีอื่นใดก็จะโอนออกได้ไม่เกิน 50,000 บาทเท่านั้น และการปลดล็อกต้องยากด้วย เช่น ทำได้เฉพาะที่สาขา รวมทั้งทางเลือกในการ “ปรับลดค่าวงเงินการสแกนใบหน้า” ในการทำธุรกรรม ผ่าน mobile banking เช่น ลูกค้าอาจจะเตือนตัวเอง ด้วยการกำหนดให้สแกนหน้าทุก 20,000 บาท แทน 50,000 บาทในปัจจุบัน เป็นต้น
หรืออีกทางเลือกที่เสนอมา เช่น การโอนเงินที่ต้องอาศัยผู้อื่นช่วยอนุมัติ (double authorisation) กรณีคุณพ่อคุณแม่สูงวัยสามารถให้ลูกเป็นผู้ช่วยอนุมัติการโอนเงินได้ โดยเมื่อมีการโอนเงิน ธนาคารจะแจ้งเตือนไปยังผู้อนุมัติร่วม และรอระยะหนึ่ง หากไม่มีการคัดค้านจึงจะโอนเงินไปได้
นอกจากนั้น ในระยะข้างหน้า ธปท.มีแนวคิดที่จะสร้างระบบการเตือนภัยที่ได้ผลมากขึ้น ซึ่งมากกว่าการขึ้นคำเตือนตัวแดง ให้ระวังก่อนการกดโอนเงินที่ใช้ในปัจจุบัน เพราะเท่าที่ทราบคนจะตกใจแค่ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็เริ่มชินและละเลย คำเตือนดังกล่าว จะเปลี่ยนเป็นการ “ขึ้นตัวแดงเตือน” เมื่อพบว่าบัญชีที่กำลังจะโอนไปมีความเสี่ยงหรือเป็นบัญชีม้าเท่านั้น เพื่อให้ลูกค้าหลีกเลี่ยงการโอน แต่กรณีนี้ต้องทำระบบหลังบ้านอีกจำนวนมาก
และที่สำคัญขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ “คนที่ไม่รู้จัก” และฉุกคิดก่อนที่จะ “คลิกลิงก์” ใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฉุกคิดก่อนที่จะโอนเงิน หรือสแกนหน้าผ่านระบบออนไลน์ ขอให้เช็กกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือปรึกษาคนใกล้ตัวก่อน เพราะภัยการเงินร้ายและใกล้ตัวกว่าที่คิด และอาจจะเสียเงินได้ในเสี้ยวนาที
ตอบคำถาม “คาใจ” คนไทย “ภัยการเงิน”
ท้ายที่สุด มาคุยกันถึงคำถามที่คาใจของคนไทยในเรื่อง “ภัยการเงิน” คำถามแรกคือ เมื่อเสียรู้มิจฉาชีพไปแล้ว มีโอกาสได้เงินคืนหรือไม่ กรณีดังกล่าวนี้ หากผู้เสียหายพิสูจน์ได้ว่า เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากระบบของธนาคาร เช่น การถูกแฮ็กเข้ามาโอนเงิน หรือสุ่มเลขบัตร หรือบัญชีในการโอนเงินออก (BIN Attack) ธนาคารจะต้องโอนเงินคืนให้ลูกค้าภายใน 5 วันหลังตรวจพบ ส่วนการโอนเงินจากการถูกหลอกลวงนั้น ก็จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า เกิดจากระบบการโอนเงิน ไม่ใช่การยินยอมของลูกค้าให้เกิดการโอนเงินเช่นกัน ธนาคารจึงจะชดใช้เงินที่เสียหายให้
ส่วนกรณีที่ถูกหลอกลวงไปแล้ว แจ้งความดำเนินคดีแล้ว มีโอกาสที่จะได้เงินคืนหรือไม่ “กรณีนี้หากตำรวจสามารถอายัดเงินจากบัญชีม้าได้ หรือยึดทรัพย์จากการจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์เหล่านี้ได้ สามารถนำมาชดเชยให้กับผู้เสียหายได้ โดยผู้เสียหายจะต้องแจ้งไปที่ ปปง.ว่าเป็นผู้เสียหาย และเท่าที่ทราบ รัฐบาลกำลังเร่งออกพระราชกำหนดเพื่อเร่งคืนเงินให้กับผู้เสียหายจากโจรออนไลน์ เพื่อให้การคืนเงินทำได้อย่างยุติธรรมและรวดเร็วขึ้น”
คำถามที่ 2 ธนาคารพาณิชย์สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภัยจากโจรไซเบอร์ได้หรือไม่ กรณีดังกล่าว ธปท.ได้เร่งรัด และธนาคารพาณิชย์ก็ได้ให้ความร่วมมือในการยกระดับการป้องกันการเข้าโจรกรรมทางไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆมาต่อเนื่อง เห็นได้จากการปรับเวอร์ชันของแอปพลิเคชันธนาคารในโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา ซึ่งขอให้ประชาชนอัปเกรดแอปให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดด้วย แต่อย่างไรก็ตาม มิจฉาชีพก็พร้อมปรับปรุงระบบการโกงตลอดเวลาเช่นกัน เช่น แอปดูดเงิน เท่าที่รู้ในขณะนี้เป็นเวอร์ชันที่ 4 แล้ว และอาจจะมีเวอร์ชันใหม่ตามมา และเท่าที่ทราบในวันที่ ธปท.แถลงข่าวการยกระดับการป้องกัน ยังมีลิงก์แปลกๆจากต่างประเทศเข้ามาฟังด้วย 2 ลิงก์ ซึ่งอาจจะเป็นมิจฉาชีพมาฟังด้วยก็เป็นได้
คำถามสุดท้ายคือชื่อเจ้าของซิมมือถือ และเจ้าของบัญชี mobile banking ต้องตรงกัน ไม่เช่นนั้นจะใช้แอปธนาคารไม่ได้ กรณีดังกล่าวนั้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งมีเวลาอีก 120 วัน และหากพบกรณีดังกล่าว ธนาคารจะขอให้ลูกค้ามาอธิบายเหตุผล หากเป็นกรณีที่ฟังได้ ก็ยังสามารถใช้ mobile banking ต่อไปได้ ไม่ได้ปิดทันที
และหากยังไม่จุใจ หรือประชาชนมีคำถามคาใจอื่นๆ สามารถสอบถามได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร.1213.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ไทยรัฐ
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?
เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับซ้ำได้ไหม?
หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 ม.ค. 67
สัญญาณปัญหาหนี้
สัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา เช่น จ่ายขั้นต่ำ จ่ายช้า กดบัตรเงินสดมาจ่ายคืนหนี้อื่น รายได้ไม่พอรายจ่าย ถ้าเห็นสัญญาณแบบนี้ไปคุยกับเจ้าหนี้ได้เลย !!
หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center และสาขาของธนาคารที่ท่านใช้บริการ
ปิดหนี้ก่อนกำหนดได้ ไม่ต้องจ่าย Prepayment fee
Prepayment fee คือ ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด
ธปท. ห้ามเรียกเก็บ prepayment fee ในสินเชื่อภายใต้กำกับของ ธปท. ดังนี้
** ยกเว้นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ผู้ให้บริการยังเรียกเก็บ prepayment fee ได้ในกรณีรีไฟแนนซ์ในช่วง 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสได้ดอกเบี้ยต่ำในช่วง 3 ปีแรก
ห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการปิดหนี้ก่อนกำหนด (Prepayment Fee)
ต่อไปนี้ !! สถาบันการเงินและ Non-bank ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการปิดหนี้ก่อนกำหนด (Prepayment Fee)
ยกเว้น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ผู้ให้บริการยังสามารถเรียกเก็บค่าปรับรีไฟแนนซ์ได้ในช่วง 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา
หนี้ “ปรับ” ได้
ปัญหาหนี้มีทางออก เจ้าหนี้ต้องเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ ให้กับลูกหนี้ที่ยังไม่เคยได้รับการปรับโครงสร้างหนี้
1. เจ้าหนี้ต้องเสนอปรับโครงสร้างหนี้ (ก่อน 1 หลัง 1)
2. เจ้าหนี้ห้ามโอนขายหนี้ก่อนครบกำหนด 60 วัน หลังเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ /กรณีให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบ ลีสซิ่ง ต้องไม่บอกเลิกสัญญาหรือจำหน่ายทรัพย์ก่อนครบกำหนด 15 วัน หลังเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้
หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center และสาขาของธนาคารที่ท่านใช้บริการ
Chairman: Mr.Luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
ประธาน: นายลือศักดิ์ สุขเกษม (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นางสาวนิภาพร ดาวขนอน
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
ประธาน: นายสัณฑ์ เถาสุวรรณ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นางสาววสุนทรี ไตรอุโฆษ
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
ประธาน: ดร.วศิน อุดมรัชตวนิชย์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นางสาวแม้นเดือน เอี่ยมบรรณพงษ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
รักษาการประธาน: นางสาวจีรณา รามสูต (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นางสาวนาทชนก อายุคง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
ประธาน: นางสาววราณี วรรณรัตน์ (ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นางสาวสุนิษา เนตรสว่าง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
ประธาน: นางสาวพรรณทิพา หาญนรเศรษฐ์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นางสาวทิพวรรณ บรรณจิรกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
ประธาน: นางสาวพรวลัย กุลโรจน์เสฏฐ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: -
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
ประธาน: ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: ดร.ฉมาดนัย มากนวล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
ประธาน: นางสาวอรนุช นำพูลสวัสดิ์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นางสาวรุ่งรัตน์ รัตนราชชาติกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
ประธาน: นายประทิน กิจจารุวรรรกุล (ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นายธรรมนูญ หาญประสิทธิ์คำ
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
ประธาน: นายฐิติวร โชตยาภรณ์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นายจิตติ วิจิตรบรรจง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
ประธาน: นายเศรษฐรัฐ ณ นคร (ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน))
: นางสาวสุชาณี ลวนะวณิช (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นางสาวมลฤดี ตีรรุ่งเรือง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
ประธาน: นายอฑิศ รุจิรวัฒน์ (บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด)
ผู้ประสานงาน: นางสาวอัปสร สุทธาโรจน์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Mr Tiravat Assavapokee (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
ประธาน: นายกิติพงศ์ มุตตามระ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นางสาวมนิษา เรืองศรี
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Mr Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
ประธาน: นายพงศ์พิเชษฐ์ นานานุกูล (ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นายวรัท อัตตะนันทน์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
ประธาน: นายกิตติชัย สิงหะ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นางสาวชุติภรณ์ จิรนันท์สุโรจน์/p>
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
ประธาน: นายไพศาล เลิศโกวิทย์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประสานงาน: นางสาวกฤษณี ดิศแพทย์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
ประธาน: นายทัฬห์ สิริโภคี (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นางสาวศุภดา รัตนพงษ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
ประธาน: นางสาวสุธีรา ศรีไพบูลย์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: นางสาวสัมพันธนี อภัยพันธุ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
ประธาน: คุณพูนสิทธิ์ ว่องธวัชชัย (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณเสาวณีย์ รัตนกิจ
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมโดยความเห็นชอบของสมาชิกซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานของสมาคมธนาคารไทย ดังนี้