ย้อนกลับไปในปีพ.ศ. 2501 เมื่อกลุ่มของนายธนาคารชั้นนำที่เป็นตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ไทยได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมามีการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับจัดตั้งในรูปแบบของสมาคมในเดือนกันยายน 2501 ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ 13 แห่งในสมัยนั้น “สมาคมธนาคารไทย” ได้จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2510 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ
- มุ่งเน้นในการสร้างความพร้อม และความร่วมมือระหว่างธนาคารสมาชิกด้วยกัน ทางด้านการเงินการธนาคาร
- ให้ความร่วมมือและประสานงานกับภาครัฐบาล และองค์กรเศรษฐกิจหลักของภาคเอกชน ในการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงินของประเทศ ให้เจริญและก้าวหน้ายิ่งขึ้น
- สนับสนุนนโยบายของรัฐ ที่มุ่งเน้นการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทย พัฒนาเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
นับตั้งแต่ก่อตั้ง สมาคมธนาคารไทยได้มีบทบาทที่สำคัญในการเป็นตัวแทนธนาคารพาณิชย์ในการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย, กระทรวงการคลัง, กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐบาลในการกำหนดและการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินที่สำคัญ
สมาคมธนาคารไทยร่วมมือกับหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ซึ่งเป็นสถาบันหลักภาคเอกชนในการส่งเสริมการค้า การอุตสาหกรรม และการเงินของประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นศูนย์รวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นเอกภาพของภาคธุรกิจเอกชน เกี่ยวกับแนวทางในการแก้ปัญหาทางการค้าและเศรษฐกิจ และนำเสนอต่อคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) หรือเสนอต่อหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ โดยตรง เพื่อประกอบการพิจารณาในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ หรือกำหนดเป็นนโยบาย หรือมาตรการในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ
สมาคมธนาคารไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมธนาคารอาเซียน (ASEAN Bankers Association : ABA) ซึ่งมีสมาคมธนาคารสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เมียนมา ลาว เวียดนาม สิงคโปร์และอินโดนีเซีย โดยมีการประสานงานอย่างใกล้ชิด ความร่วมมือที่ผ่านมา เช่น มาตรการแก้ปัญหา Y2K, การจัดประชุมเชิงวิชาการ เชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแข็งแกร่งของระบบการเงิน การธนาคารในภูมิภาคอาเซียน
ประธานสมาคมธนาคารไทยจาก (2501 – ปัจจุบัน)
นายเกษม ล่ำซำ
พ.ศ. 2501 – 2503
นายบรรเจิด ชลวิจารณ์
พ.ศ. 2504 – 2507
นายอุเทน เตชะไพบูลย์
พ.ศ. 2508 – 2511
2517 – 2518
นายจำรัส จตุรภัทร
พ.ศ. 2512 – 2513
นายเฉลิม ประจวบเหมาะ
พ.ศ. 2514 – 2516
นายสุขุม นวพันธ์
พ.ศ. 2519 – 2520
นายบุญชู โรจนเสถียร
พ.ศ. 2521 – 2522
นายประจิตร ยศสุนทร
พ.ศ. 2523 – 2524
นายสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์
พ.ศ. 2525 – 2526
นายบรรยงค์ ล่ำซำ
พ.ศ. 2527 – 2528
นายชาตรี โสภณพนิช
พ.ศ. 2529 – 2531
นายปกรณ์ ทวีสิน
พ.ศ. 2532 – 2533
นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์
พ.ศ. 2534 – 2535
ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์
พ.ศ. 2536 – 2538
ดร. โอฬาร ไชยประวัติ
พ.ศ. 2539 – 2540
นายบัณฑูร ล่ำซำ
พ.ศ. 2541 – 2542
นายจุลกร สิงหโกวินท์
พ.ศ. 2543 – 2544
นายชาติศิริ โสภณพนิช
พ.ศ. 2545 – 2548
2554 – 2556
คุณหญิงชฏา วัฒนศิริธรรม
พ.ศ. 2549
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
พ.ศ. 2550 – 2552
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
พ.ศ. 2553
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ
พ.ศ. 2557 – 2558
นายปรีดี ดาวฉาย
พ.ศ. 2559 – 2562
นายผยง ศรีวณิช
พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน