มาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม

มาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม

สมาคมธนาคารไทยสนับสนุนการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง
ผ่านมาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)

การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน เป็นเรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง โดย ธปท.ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ตั้งแต่ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้แบบปูพรมในช่วงโควิด แล้วปรับเป็นการช่วยเหลือแบบเฉพาะจุดหลังสถานการณ์เศรษฐกิจทยอยปรับดีขึ้น จนล่าสุด ธปท. ได้ออกมาตรการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending - RL) เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนแบบครบวงจร โดยมุ่งหมายให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค และมุ่งหวังให้ผู้ให้บริการมีการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่อย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่ก่อน/กำลังจะเป็นหนี้ ระหว่างเป็นหนี้เมื่อลูกหนี้มีปัญหาชำระหนี้ จนถึงการดำเนินคดีและโอนขายหนี้ ขณะเดียวกัน ก็ส่งเสริมให้ “ลูกหนี้มีวินัย” ทางการเงินที่ดีขึ้น ผ่านการให้ข้อมูล เงื่อนไขและคำเตือนที่ลูกหนี้ควรรู้ เพื่อกระตุกพฤติกรรม (nudge) และบริหารจัดการหนี้ของตนเองได้

 

มาตรการ RL ประกอบด้วย 3 เรื่องสำคัญ คือ

  1. ช่วยลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567
  2. ช่วยเหลือลูกหนี้เรื้อรังกลุ่มเปราะบาง ให้สามารถปิดหนี้ได้ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567
  3. การคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ ให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น
 
 

ลูกหนี้

 
 

หนี้เรื้อรัง

 
 

คุ้มครองสิทธิลูกหนี้

 
 

ธปท. ทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ Responsible Lending

ธปท. จะใช้เครื่องมือใหม่ ๆ และข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อวิเคราะห์ ติดตามและประเมินการปฏิบัติตามเกณฑ์ รวมถึงปัญหา/เรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการทางการเงิน ตลอดจนยกระดับการตรวจสอบผู้ให้บริการเชิงรุกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น ใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูล (text analytics) บนสื่อโซเชียลมีเดีย ชี้เบาะแส ติดตามปัญหาจากการใช้บริการทางการเงินที่มีการกล่าวถึงในสังคมออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการให้บริการของสถาบันการเงิน และเรื่องที่ประชาชนร้องเรียนมายัง ธปท. ผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

 
 

Call Center สถาบันการเงิน

(หากลูกหนี้ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ หรือขอคำปรึกษาการแก้ปัญหาหนี้ สามารถติดต่อธนาคาร ผ่านสาขา)

สมาคมธนาคารไทย
เลขที่ 5/13 ชั้น 4 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ
ต. คลองเกลือ อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี 11120
โทร: 02 558 7500
แฟกซ์: 02 558 7509
อีเมล: tbaoffice@tba.or.th


ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

05

หนี้ “ปรับ” ได้

ปัญหาหนี้มีทางออก เจ้าหนี้ต้องเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ ให้กับลูกหนี้ที่ยังไม่เคยได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ 1. เจ้าหนี้ต้องเสนอปรับโครงสร้างหนี้ (ก่อน 1 หลัง 1) • ก่อนเป็น NPL อย่างน้อย 1 ครั้ง เมื่อเริ่มมีสัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา โดยให้ลูกหนี้มีเวลาตัดสินใจปรับโครงสร้างหนี้ก่อนกลายเป็น NPL • หลังเป็น NPL อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยให้ลูกหนี้มีเวลาตัดสินใจ ก่อนถูกโอนขายหนี้ บอกเลิกสัญญา ฟ้องร้องคดีแพ่ง หรือ ยึดทรัพย์ 2. เจ้าหนี้ห้ามโอนขายหนี้ก่อนครบกำหนด 60 วัน หลังเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ /กรณีให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบ ลีสซิ่ง ต้องไม่บอกเลิกสัญญาหรือจำหน่ายทรัพย์ก่อนครบกำหนด 15 วัน หลังเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center และสาขาของธนาคารที่ท่านใช้บริการ
Click Here